บทที่ 6 เครื่องมือวัดพลังคลื่น

มีของอยู่ในมือแล้ว พวกเรามักมีปัญหาในการปล่อย หรือติดดอย เพราะไม่มีการเช็คสุขภาพ หรือพลังของคลื่น ว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน สมควรจะเสี่ยงถือต่อไป หรือโยนให้คนอื่นถือต่อดี วันนี้มารู้จักกับเครื่องมือวัดพลังคลื่นทั้ง 3 ตัวที่ผมใช้ประจำครับ

Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า 

Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า 

RSI (Relative Strength Index)เป็นเครื่องมือวัดพลังของคลื่น ที่ผมให้น้ำหนักค่อนข้างมาก ผมใช้ยอดคลื่นของมันชี้ตำแหน่งคลื่น 3 และคลื่น b 

MACD (Moving Average Convergence Divergence)เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีครับ 

การใช้งานเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด
อ่านตำราแล้วเหมือนจะใช้ต่างกัน แต่ผมมักจะมองภาพรวมทั้ง 3 ตัวด้วยกัน รวมถึงการนับขาตามทฤษฎีอีเลียตเวฟ เพื่อช่วยตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้ม หากใครอ่านตำรา ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่สัญญาณ overbought/oversold เป็นหลัก แต่จริงๆแล้ว เรายังดูหลายอย่างที่ละเอียดลงไปได้อีก 

สิ่งที่เราต้องมองหาในเครื่องมือโดยรวม
- Divergence/Convergence ตรงนี้อธิบายง่ายๆ คือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสัญญาณในเครื่องมือ มันต้องไปทางเดียวกัน เท่านั้นแหละ หากราคาขึ้นทำ high ใหม่ แล้วสัญญาณขึ้นตาม ก็ดีไป แต่หากไม่ตาม เราเรียกว่า เกิด divergence คือสัญญาณมันไม่เอาด้วย แบบนี้ ก็เตรียมถอยครับ ทางกลับกัน หากราคาลงทำ low ใหม่ และสัญญาณตามลงไป เราก็รอต่อไป แต่เมื่อไหร่ที่สัญญาณไม่ลงด้วย เราเรียกว่าเกิด convergence คือสัญญาณไม่เอาด้วย แต่เป็นเชิงบวกแทน แบบนี้ เตรียมกระโจนเข้าได้
- แนวต้านจากการลาก trend line เมื่อเกิดยอดคลื่น 2 ยอด เราสามารถลากเส้น trendline ให้เส้นสัญญาณได้ เช่นเดียวกับกราฟราคาครับ และหากสัญญาณขึ้นมาชน trendline ที่เราตีไว้ ก็มีแนวโน้มว่า จะติดเส้นนี้ได้ ทางกลับกัน หากหลุดเส้น trendline นี้ไปได้ ก็อาจพุ่งไปต่อได้เลยเช่นกันครับ
หากมองไม่เห็น สมมุติว่า เราดูใน chart รายวัน เราอาจขยับมาดูราย 4 ชั่วโมง หรือต่ำลงมาเป็นรายชั่วโมง เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการดู 

สัญญาณในกราฟ รายชั่วโมง ราย 4 ชั่วโมง รายวัน อันไหนสำคัญกว่ากัน?
บางครั้ง สัญญาณระดับต่างๆมันขัดแย้งกัน มือใหม่จะงง และตัดสินใจไม่ถูก ไม่รู้จะเชื่ออันไหนดี ผมอธิบายง่ายๆว่า รายวันก็เหมือนเราดูคลื่นหลัก ส่วนราย 4 ชั่วโมง หรือ รายชั่วโมง เราก็เท่ากับกำลังมองคลื่นย่อยในคลื่นหลัก คลื่นหลัก สัญญาณอาจบอกว่า กำลัง bull มาก อยู่ในคลื่น 3 แต่รายชั่วโมง สัญญาณอาจเป็น bear เพราะกำลังปรับฐานอยู่ในคลื่น 2 ย่อยของ 3 ก็เป็นได้ 

การใช้ MACD ดูการเปลี่ยนแนวโน้ม
MACD ถูกยกย่องให้เป็นราชาของเครื่องมือวัด เพราะมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง วิธีการดู MACD ก็ดูว่า
- เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่เหนือแถบ MACD จะ bearish หรือกลับเป็นขาลง
- เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่ใต้แถบ MACD จะ bullish หรือกลับเป็นขาขึ้น
นอกจากนั้น ก็เป็นการมองหา divergence/convergence และ การใช้ trendline วัดความสูงเพื่อหาแนวต้านแนวรับแล้ว อย่างที่บอกไป แต่ยังมีอีกจุดที่น่าสนใจมาก คือมันสามารถบอกพลังงานสะสมได้ครับ เมื่อใดที่เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) กับ MACD ตีคู่กันใกล้ๆไปสักระยะ จะเกิดพลังงานสะสม และมักมีไม้เขียว หรือไม้แดงยาวๆตามมาให้เห็นบ่อยๆครับ ลองไปสังเกตดู MACD ที่เกิดขึ้นมาในอดีตดูครับ ให้สัญญาณก่อนเกิดไม้เขียวไม้แดงยาวๆตามมา ชนิดทำกำไรได้สบาย

ถึงบทนี้ ความฮึกเหิมคงเริ่มเกิดในตัวแล้วใช่มั๊ยละครับ แต่อยากจะบอกว่า พอไปดูคลื่นจริงๆ อาจจะยังคงเมากันอยู่ครับ คงต้องอาศัยประสบการณ์ที่ต้องค่อยๆสะสมแล้ว อันนี้ สอนกันยาก ได้แต่บอกว่า ค่อยๆดูไปครับ ทุกวันนี้ ผมก็ยังสะสมอยู่เหมือนกัน
บทต่อไป คงเป็นเรื่องของ เครื่องมือปลีกย่อย อย่าง Moving Average, Trendline, ฯลฯ แต่ผมว่า ศึกษาเองก็ไม่น่ายากแล้วนา !hh !hh 





ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ