การประชุม G-20 คืออะไร

การประชุม G-20 คืออะไร

การประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง หรือ G 20 (The Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors – G20)
นั้นคือการประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่สนับสนุนให้มีการอภิปรายและหารืออย่างเปิดกว้างและสร้างสรรค์ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศคู่เจรจา เกี่ยวกับการหาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
ประวัติความเป็นมาของ G-20
กลุ่ม G-20 เป็นการรวมตัวของประเทศกำลังพัฒนาจำนวนหนึ่งที่เป็นสมาชิกองค์การค้าโลกและมีแนวคิดเดียวกันที่จะปัญหาการค้าสินค้าเกษตรของโลก ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 23 ประเทศได้แก่ อาร์เจตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี จีน คิวบา อียีปต์ กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวะเย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย เวเนซูเอลา อุรุกวัย ซิมบับเว เปรู และเอกวาดอร์ เพื่อเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น
ที่ยังคงต้องการการปกป้องภาคการเกษตรของตนอยู่ให้เปิดเสรีสินค้าเกษตรมากขึ้น
สาเหตุสำคัญของการรวมตัวกันของสมาชิกกลุ่ม G-20 เกิดจากความไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร่วมกันจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจัดรูปแบบของการเจรจา (modalities) เรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งมีสาระลักษณะที่เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในประเด็นที่ทั้งสองประเทศมีท่าทีต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามปฏิญญาโดฮา และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่เป็นพิเศษสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment; S&D) ประกอบกับออสเตเลียและแคนาดาซึ่งเป็นผู้นำในกลุ่มแคร์นส์ กลับไม่มีบทบาทนำในการคัดค้านข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาต่อกลุ่มแคร์นส์ลดลง ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 20 ประเทศที่กล่าวมา รวมตัวกันในช่วงก่อนประชุมรัฐมนตรี WTO ที่เมืองแคนคูน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง จนถึงปัจจุบันกลุ่ม G-20 ได้ยกระดับตัวเองเป็น “พลังที่ 3” ที่จะสามารถต่อรองกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรปได้
G-20 มีชื่อเป็นทางการว่า “Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors.” จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1999 และจัดประชุมครั้งแรกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เป็นกลุ่มของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก 19 ประเทศบวกกับสหภาพยุโรป กลุ่ม G-20 รวมกันแล้วมีความสำคัญมาก เพราะมีขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมรวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของผลผลิตรวมของโลก มีสัดส่วนการค้าคิดเป็น 85% ของการค้าโลก และมีสัดส่วนของจำนวนประชากรประมาณ 67% ของประชากรโลก ทั้งนี้ กลุ่ม G-20 ไม่มีการตั้งสำนักงานหรือสำนักงานเลขาธิการแบบถาวรเช่นเดียวกับอาเซียน แต่จะใช้การหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมและกำหนดวาระที่จะมีการหารือกันเป็นครั้งคราวไป นอกจากประเทศสมาชิกที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีหน่วยงานที่ร่วมการประชุม ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก คณะกรรมการการเงินการคลังระหว่างประเทศ และคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
กลุ่ม G-20 (The Group of Twenty) คืออะไร
กลุ่ม G-20 (The Group of Twenty) คือ กลุ่มเศรษฐกิจกลุ่มใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2542 ตามมติของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่ม G-7 ที่มีความเห็นว่าควรมีเวทีที่กลุ่ม G-7 สามารถประชุมร่วมกับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เพื่อถกเถียง อธิบาย ศึกษา และทบทวนประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อันจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินในระบบการเงินระหว่างประเทศ และป้องกันมิให้เกิดปัญหาวิกฤตค่าเงินในภูมิภาคต่างๆ ขึ้นอีก สมาชิกกลุ่ม G-20 ประกอบด้วย 19 ประเทศ กับ 1 องค์กร ดังนี้
กลุ่ม G-7 หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ จำนวน 7 ประเทศ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ
กลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) จำนวน 12 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ และตุรกี
องค์กร จำนวน 1 แห่ง คือ สหภาพยุโรป (The European Union: EU) นอกจากนี้ยังมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกเข้าร่วมประชุมด้วย โดยกลุ่ม G-20 จะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม G-20 เป็นประจำทุกปี สำหรับตัวแทนของกลุ่ม EU ที่เข้าร่วมประชุมในระดับดังกล่าวคือประธานกลุ่มสหภาพยุโรปและประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป
เหตุผลที่มีการจัดการประชุม G-20
เพื่อเป็นการปฏิรูประบบการเงินโลก มุ่งเน้นการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจโลก

credit www.ลงทุนทอง.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ