การทำ Hedging สำหรับผู้เริ่มต้น




Hedging strategy
hedging strategy หรือ กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง เป็นกลยุทธ์การเทรดเพื่อป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่จะเปิดออเดอร์ทั้งสองทาง ( Buy-Sell) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรด EUR/USD คุณเปิดทั้งออเดอร์ Buy และ Sell ไว้อย่างละ 1 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 1 lot ดังนั้น ไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใด คุณก็จะไม่มีทางได้หรือเสีย ยอดรวมบัญชีของคุณจะความสมดุล หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในการเทรดของคุณเป็น 0

แล้วกลยุทธ์แบบนี้มันน่าสนใจตรงไหนล่ะ ?
ที่น่าสนใจก็ตรงที่ กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง หรือ Hedging นี้ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องผลกำไร และใช้ประโยชน์ได้เมื่อเวลาที่ราคามีการปรับตัว

การป้องกันเงินทุน  
ถ้าออเดอร์ที่คุณเปิดมีการป้องกันความเสี่ยง ก็เท่ากับว่าคุณไม่ได้เสี่ยงอะไรเลย แม้ว่าจะมีความผันผวนเกิดขึ้นกับคู่เงินที่คุณเทรด แต่ยอดเงินทุนของคุณก็จะไม่เปลี่ยนไปเลย การป้องกันความเสี่ยงจะถูกนำมาใช้เมื่อมีการเปิดออเดอร์ไปแล้วแล้วเกิดไม่มั่นใจในทิศทางของราคาในอนาคตขึ้นมา ก็จะใช้การ Hedging เพื่อเป็นการป้องกันผลกำไรที่มีอยู่จากออเดอร์ที่เปิดไว้แล้ว

Hedging

ตัวอย่างที่ 1  
คุณเปิดออเดอรN Buy ที่ตำแหน่ง 1.3950 หลังจากนั้นราคาได้ขึ้นไปและปิดที่ 1.4000 แต่คุณไม่แน่ใจว่า ราคาจะผ่านแนวต้านที่ระดับนี้ไปได้หรือไม่ (แนวต้านที่ 1.4000)  ดังนั้นคุณจึงป้องกันความเสี่ยง (Hedge) โดยการ Sell เพื่อให้คุณได้รอดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านนี้โดยที่ออเดอร์ของคุณยังปลอดภัย นอกจากนี้แล้วยังเป็นการป้องกันผลกำไรของคุณที่มีอยู่ก่อนหน้าในตำแหน่ง Buy ด้วย

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ถ้าราคาวิ่งผ่านแนวต้านที่ 1.4000 ก็เท่ากับว่าได้เสียกำไรที่ควรจะได้จากการเปิดเออเดอร์ Buy ครั้งแรก เพราะตั้งแต่จุดที่ทำการ Hedge ด้วย ออเดอร์ Sell เราจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คุณได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ ราคาได้ทุผ่าน 1.4000 ขึ้นมาได้แล้ว ทีนี้เราก็สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ใหม่ในการเทรดสำหรับออเดอร์แรกที่ Buy ไว้ได้แล้ว ซึ่งคุณอาจจะปิดออเดอร์ที่คุณ Sell ไว้ แล้วปล่อยให้ออเดอร์ Buy ครั้งแรกของคุณทำกำไรต่อไป หรือแม้แต่เลือกที่จะเปิดออเดอร์ Buy เพิ่มนั่นก็แล้วแต่คุณ
อีกกรณีหนึ่งก็คือ ถ้าราคาไม่ทะลุผ่านแนวต้านที่ 1.4000 ขึ้นไป แต่ราคากลับลงไปที่ 1.3950 แต่คุณยังเชื่อว่าราคาจะต้องกลับชึ้นไปในทิศทางเดิม ก็สามารถที่จะปิดออเดอร์ที่ Short ลงมาจาก 1.4000 แล้วเก็บกำไรตรงส่วนนี้เอาไว้ก่อน และยังเก็บออเดอร์ Buy ของคุณเอาไว้ ผลกำไรที่คุณได้จากตรงนี้ก็เท่ากับว่าเป็นกำไรจากการ Buy ครั้งแรกไปจนถึงตำแหน่ง 1.4000 นั่นเอง เท่ากับว่าคุณได้ปกป้องกำไรในส่วนนั้นไว้ และตอนนี้คุณก็จะต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนจากความเสี่ยงในออเดอร์ Buy ของคุณอีกครั้งหนึ่ง

ตัวอย่างที่ 2
คุณ Buy EUR/USD ตั้งแต่ 1.3950 และราคาในปัจจุบันคือ 1.4000 แต่กำลังจะมีการประกาศข่าวที่สำคัญของค่าเงิน USD และคุณคาดว่าจะมีความผันผวนที่อาจทำให้ราคาวิ่งไปชนจุด Stop Loss ของคุณได้ คุณจึงจะหาทางที่จะปกป้องผลกำไรของคุณโดยการ Hedge เพื่อป้องกันความเสี่ยงของออเดอร์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเอา Stop Loss ของคุณออกได้ชั่วคราวในช่วงที่มีความเสี่ยงจากภาวะราคาผัวผวนมากๆจากข่าว และที่นี้คุณก็สามารถืออเดอร์รอดูข่าวได้อย่างไม่ต้องมีความเสี่ยงใดๆ ถ้าข่าวที่ออกมาส่งผลดีกับออเดอร์แรกของคุณ (Buy) คุณก็สามารถปิดออเดอร์ Hedge (Sell) ของคุณได้เพื่อให้ ออเดอร์ Buy ของคุณวิ่งทำกำไรต่อไปในแนวโน้มขาขึ้น

ประโยชน์จากการ Hedge เมื่อราคาปรับตัว
คุณสามารถใช้ประโยชน์จากการ Hedging ออเดอร์ของคุณ เมื่อราคามีการปรับตัวในราคาวิ่งไปตามแนวโน้ม ซึ่งจะทำให้ผลกำไรของคุณเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ คุณจะได้กำไรจากทั้งการ Buy และ Sell และในการใช้กลยุทธ์นี้ในการเทรด คุณควรจะต้องรู้ก่อนว่าจุดกลับตัว หรือจุด Retracement นั้นอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะเข้าออเดอร์ได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ตัวอย่าง
คุณคาดว่า EUR/USD จะวิ่งในทิศทางขาขึ้น คุณจึงเปิด Buy ที่ 1.3950 และเป้าหมาย Take profit ของคุณอยู่ที่ 1.4100 ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.4000 และคุณคาดว่าราคาจะลงมาพักตัวที่ระดับ 1.3980 ดังนั้นคุณจึง Hedge ด้วยการ Sell ที่ 1.4000 และคุณ และเมื่อราคาลงมาถึงระดับ 1.3980 คุณก็ปิดออเดอร์ Sell ของคุณ คุณก็จะได้กำไรในส่วนนี้ไปก่อน แต่คุณยังเก็บออเดอร์ Buy ในครั้งแรกของคุณไว้และหวังว่าราคาจะวิ่งไปถึงเป้าหมายของคุณ (1.4100) แต่อย่างไรก็ตาม ที่แน่ๆคุณได้กำไรจากการ Hedge ออเดอร์ Sell ของคุณ กว่า 20 จุดไปเรียบร้อยแล้ว
อันที่จริงในกรณีนี้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดออเดอร์ Hedge แต่ในการเปิดออเดอร์แรกของคุณก็ทำกำไรได้ 30 จุด อยู่แล้ว ( 1.3980-1.3950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก)
และเมื่อมีการ Hedge กำไรของคุณจะกลายเป็น 50 จุด (1.3980-1.3950 = 30 จากการเปิด Buy ในครั้งแรก และ 1.4000 -1.3980 = 20 ในการเปิด Sell เพื่อ Hedge)
สรุปก็คือ ถ้ามีการปรับตัวของราคาเกิดขึ้น คุณก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้เพื่อทำกำไรได้ แต่ถ้าราคาไม่มีการปรับตัว คุณก็อาจจะสูญเสียกำไรส่วนหนึ่งที่คุณควรจะได้รับไป
ตั้งข้อสังเกตว่า บางโบรคเกอร์ไม่อนุญาตให้คุณให้กลยุทธ์การ Hedging ดังนั้น คุณควรสอบถามกับทาง Broker ก่อนว่าเค้าอนุญาตรึเปล่า

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ