ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด
ความหมายของภาวะการเงิน คือภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินซึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ นั้นคือเมื่อเศรษฐกิจมีการปรับตัวหรือขยายตัวไม่ว่าจะดีขึ้นหรือเลวร้ายลง จะส่งผลกระทบต่อประชาชน หน่วยธุรกิจ และภาครัฐโดยตรง ดังนั้นภาวะการเงินของประเทศต่างๆจึงบอกเราได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆกำลังเป็นเช่นไร  
       
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation rate)
     ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นราคาสินค้าและบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือเกิดอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จาก ราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่นราคา อมยิ้ม 1 อัน เคยซื้อได้ด้วยราคา 10 บาทในปี 2000 แต่ในปี 2013 ราคาอมยิ้ม 1 แท่งนั้นมีราคา 15 บาท หมายความว่า เงินเฟ้อทำให้"มูลค่าของเงินลดลง" จึงซื้อของได้ในราคาที่แพงขึ้น การวัดอัตราเงินเฟ้อเราจะวัดด้วยด้วยดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index: PPI) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index: CPI) หรือ GDP deflator แต่โดยทั่วไป 

"ดัชนีราคาผู้บริโภค:CPI" เป็นตัวชี้หลักในการวัดภาวะเงินเฟ้อ
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อมีสาเหตุหลักจากการเติบโตของความไม่สมดุลของปริมาณเงินในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเหตุผลอื่น ๆ รวมถึงความสมดุลในความต้องการสินค้าหรือบริการ และการจัดหาเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ ถ้าความต้องการมีการกว่าสินค้าหรือบริการ ราคาก็จะแพงขึ้นเช่นกัน

มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ 
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้า ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันในทางเศรษฐกิจ สาเหตุหรือแรงกดดันที่นำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ซึ่ง "โรเบิร์ต เจ กอร์ดอน" เรียกว่า "Tringle Model" ได้แก่

  • เงินเฟ้อแบบบิลท์อิน (Built-in inflation) ซึ่งเกิดจากการปรับตัวที่เป็นผลมาจากการคาดการณ์ เช่นพนักงานในบริษัทเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือน (ในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ) บริษัทจึงปล่อยให้ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นภาระของลูกค้า แล้วราคาสินค้าและค่าแรงก็ผลัดกันเป็นต้นเหตุและผลเกลียวแล้วเกลียวเล่า "Price/Wage Spiral "จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious circle) ทำให้ราคาสินค้าลอยขึ้นไปค้างเติ่งบนยอดดอย (hangover inflation) 

  • ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

  • ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ จึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ คือมีการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เรื่องของอัตราเงินเฟ้อนั้นมีความสำคัญมากเพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ธนาคารกลางใช้พิจารณาในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย Federal Reserve  ของสหรัฐใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นสำคัญในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจากรายงานที่เรียกว่า "ค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditure)" ในการวัดอัตราเงินเฟ้อในขณะที่ธนาคารกลางอื่น ๆ เช่นธนาคารกลางยุโรปจะใช้รายงานที่เรียกว่า "ดัชนีราคาผู้บริโภค(Consumer Price Index)"
ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นมาตรการที่ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อ โดยการคำนวณราคาเฉลี่ยของตะกร้าสินค้ามักจะซื้อโดยผู้บริโภคและเปรียบเทียบกับมูลค่าของตะกร้าสินค้าในเวลาที่แตกต่าง ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกกำหนดเป็นร้อยละของอัตราเงินเฟ้อ ปรกติจะคำนวณดัชนีนี้เป็นประจำทุกปี แต่ในบางประเทศจะคำนวณเป็นรายไตรมาสหรือรายเดือน
หลายคนมองว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้าย เพราะจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ แต่อันที่จริงแล้วอัตราเงินเฟ้อที่สมดุลหมายถึงการเติบโตของประเทศ เราจะเห็นว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะพยายามรักษาความสมดุลในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่สูงหรือต่ำเกินไปจนทำร้ายระบบเศรษฐกิจ ในปีที่ผ่านๆมาประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีความพยายามที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อ 2-3%
      
 ผลลัพธ์ของอัตราเงินเฟ้อ

อัตราค่าจ้างสูงขึ้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการทำดัชนีระดับอัตราค่าจ้างแรงงาน ดังนั้นหากมีอัตราเงินเฟ้อ 3% แล้วค่าจ้างแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น 3% ด้วยในทางทฤษฎี ดังนั้นจึงไม่มีการสูญเสียกำลังซื้อ เราสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (ซึ่งจะใช้ในการทำดัชนีค่าจ้าง) หมายความว่า ถ้าอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าราคาสินค้า ภาคครัวเรือนจะรวยขึ้น และในทางตรงกันข้ามถ้าค่าจ้างเพิ่มขึ้นช้ากว่าราคาสินค้าก็จะมีการสูญเสียกำลังซื้อ

เป็นการลดภาระหนี้สำหรับลูกหนี้  เงิน 1 ยูโรในวันนี้ มีค่าไม่เท่ากับ 1 ยูโรในวันพรุ่งนี้ ในกรณีของอัตราเงินเฟ้อ 1 ยูโรในวันพรุ่งนี้ จะมีค่าน้อยกว่า 1 ยูโรในวันนี้ ดังนั้นถ้ามีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารที่ตายตัว จำนวนเงินที่จ่ายคืนในแต่ละเดือนจะไม่เท่าเดิม นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ สร้างเงิน (พิมพ์เงิน)เพิ่มขึ้นมาในระบบ อัตราเงินเฟ้อจากการสร้างเงินนี้ จะช่วยลดน้ำหนักของหนี้สาธารณะที่รัฐต้องชำระคืนแก่เจ้าหนี้ ในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นการสูญเสียมูลค่าของหนี้สำหรับเจ้าหนี้ คือจะได้รับเงินชำระหนี้ที่เป็นสกุลเงินเดิมแต่มีค่าน้อยกว่าเมื่อครั้งที่ได้ให้กู้ไป ในทำนองเดียวกันภาคครัวเรือนก็จะได้รับผลกระทบจากการผันแปรในการกู้เงินจาการที่ธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนี้ทำให้ผู้กู้มีสัดส่วนดอกเบี้ยที่สูงกว่าในการชำระคืน เมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ได้รับ

เป็นการส่งเสริมการส่องออก อัตราเงินเฟ้อเพื่อการส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ตามความเป็นจริง อัตราเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของสกุลเงินของประเทศอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ดังนั้น ราคาสินค้าจึงถูกลงสำหรับประเทศอื่นที่จะนำเข้าสินค้าจากประเทศเรา อัตราเงินเฟ้อจึงช่วยเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ และในที่สุดก็สร้างงานใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าที่มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม เงินเฟ้อไม่เป็นผลดีสำหรับผู้นำเข้าสินค้าที่จะต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากการเสื่อมค่าในสกุลเงินของตนเมื่อเทียบกับสกุลเงินจากต่างประเทศ

เป็นสัญญาณสุขภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ  อัตราเงินเฟ้อไม่ได้เลวร้ายเพราะมันเป็นสัญญาณของการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อนี้ควรจะอยู่ในระดับปานกลางและไม่มากเกินกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงของประเทศคือการคำนวณจาก อัตราการเติบโตของจีดีพี – อัตราการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีแล้วเศรษฐกิจจริงจะอยู่ในภาวะถดถอย

เป็นการสนับสนุนผู้ถือสินทรัพย์ เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อจะช่วยเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน อันที่จริงถ้ามีราคาสูงขึ้น ราคาที่สูงขึ้นนี้จะรวมถึงสินค้าและบริการทั้งหมด และมูลค่าในทรัพย์สินของคุณก็จะเพิ่มมากขึ้น และในสินทรัพย์อื่นๆก็จะใช้หลักการเดียวกันนี้ ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนก็จะต้องจ่ายแพงกว่าในการซื้อทรัพย์สิน หรือสินทรัพย์
 Inflation&Deflation
     
       
ภาวะเงินฝืด (Deflation)
      
ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่สินค้าโดยทั่วไปมีระดับราคาลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางอย่างอาจมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้วราคาถั่วเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม เกิดจากความต้องการโดยรวมมีน้อยกว่าประมาณสินค้าหรือบริการในขณะนั้น ซึ่งภาวะเงินฝืดเป็นปรากฏการณ์ที่หายากมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ภาวะเงินฝืดก็ไม่ปรากฏให้เห็นบ่อยนัก ประเทศที่มีภาวะเงินฝืดจะต้องมีนโยบายที่แข็งแกร่งมากถึงจะนำประเทศเข้าสู่สภาวะเงินฝืดได้ เหมือนฝรั่งเศสในยุค 20 ซึ่งสถานการณ์นี้พบได้ยากมาก อันที่จริงเมื่อเกิดภาวะเงินฝืดรัฐบาลและบริษัทจะมีความกดดันอย่างต่อเนื่องจากพนักงานที่ต้องการให้ค่าจ้างของพวกเขาเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวสร้างภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากมีเงินในระบบการหมุนเวียนมากขึ้น เศรษฐกิจมีการเติบโต ดังนั้นการลดราคาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ธนาคารกลางอย่างธนาคารกลางยุโรปเห็นว่าการต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อมีความสำคัญอย่างมาก พวกเขาพยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ไม่ได้พยายามที่จะหยุดมัน 

"เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ไม่มากเกินไป ถือว่าเป็นองค์ประกอบในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เราจะเรียกว่าเงินฝืด"

      
 ภาวะเงินฝืดอาจจะเกิดจากสาเหตุบางประการดังต่อไปนี้
     1. การขาดแคลนเงินทุนหรือเงินออม ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนลดน้อย การผลิตลดน้อยลง จึงมีการจ้างงานลดระดับลง รายได้ประชาชนก็ลดลงตามไป ทำให้ภาวการณ์ซื้อขายชะลอตัว
     2. มีการส่งเงินทุนออกต่างประเทศมากเกินไป ทั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมายในระยะยาวนานติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศไปจำนวนมาก และเกิดผลกระทบทำให้เงินทุนลดน้อย ภาวะดอกเบี้ยจึงสูงขึ้น
     3. ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง เช่น มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงินประสบปัญหาในเรื่องให้สินเชื่อแก่ลูกค้า มีการจัดเก็บภาษีทางตรงในอัตราสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ายน้อยเกินไป ทำให้อุปสงค์ลดลงไม่สมดุลกับอุปทานที่มีมากกว่า หรือรัฐบาลจัดการพิมพ์ธนบัตรออกหมุนเวียนใช้ไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น
     4. การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุอื่นๆ เช่น ประชาชนไม่นิยมออมเงินในระบบการเงิน แต่หันไปนิยมการออมนอกระบบการเงิน ตัวอย่าง มีการนำเงินออมไปลงทุนไว้ในทรัพย์สิน โดยการกักตุน ซื้อโลหะมีค่า ซึ่งเป็นเหตุให้เงินออมในระบบการเงินลดน้อยลง จึงทำให้เงินทุนมีน้อย ดอกเบี้ยจึงแพง เป็นต้น  

       
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือเศรษฐกิจต่ำ นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ คือ
     1. ผลต่อประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของรายได้ที่มีอยู่ กล่าวคือ ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากกำไรและลูกหนี้
     2. ผลต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่ภาวการณ์ลงทุน การผลิตที่ลดลงเกิดการว่างงานทำให้ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อตกต่ำลง สินค้าจะตกค้าอยู่ในคลังสินค้าอย่างมาก กำไรธุรกิจลดน้อยลงหรือเกิดภาวการณ์ขาดทุนอย่างรุนแรง สภาพเศรษฐกิจของประเทศจะซบเซาตกต่ำ รายได้ประชาชาติจะถดถอยลง ในภาวะที่ตลาดซบเซาทำให้ผู้ประกอบการต่างต้องการเงินเพื่อมาหมุนเวียนในกิจการ ทำให้ต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงิน ซึ่งต้องลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจผู้ซื้อทั้งลดแลกแจกแถม เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเมื่อสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถที่จะหาเงินมาหมุน เวียนจนทำให้กิจการบางแห่งต้องปิดตัวลง ยังผลให้ต้องเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก เมื่อพนักงานส่วนหนึ่งกลายเป็นคนตกงาน ทำให้ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังธุรกิจการค้า และมีผลต่อภาคการผลิตอื่นๆ  

ขอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.babypips.com/forexpedia/Inflation
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.investopedia.com/
http://www.forex-tribe.com/Learn-inflation.php
http://www.learners.in.th/blogs/posts/260990

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ