การหาเป้าหมายราคาและจุดตัดขาดทุนด้วย Fibonacci ไกด์ไลน์ในการเทรด Forex



การหาเป้าหมายราคาด้วย Fibonacci extension

ต่อไปเราจะมาพูดถึงการหาราคาเป้าหมายด้วยการใช้ Fibonacci ซึ่งเราจะใช้ Fibonacci extension การลาก Fibonacci extension นั้นแตกต่างจากการลาก Fibonacci Retracement อยู่นิดหน่อย เพราะเราต้องหาตำแหน่งวาง 3 จุด ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาวิ่งเป็นเทรนขาขึ้น ปรกติเราจะทำกำไรจากการเข้าบาย และเราจะหาเป้าหมายราคาในขาขึ้นจาก Fibonacci extension โดยการวางตำแหน่งแรกของ Fib ไว้ที่สวิงโลว์ที่มีนัยยะ แล้วลากเม้าท์ไปที่สวิงไฮ แล้วคลิ๊กเม้าท์ และลากต่อมาที่จุดที่ราคามีการวิ่งมาทดสอบ ( Retracement ) เห็นได้ว่าแต่ละจุดที่เราวางนั้นมีความสอดคล้องกัน ลองไปดูตัวอย่าง USD/CHF กัน

การหาเป้าหมายราคาด้วย Fibonacci extension

เห็นได้ว่าที่ระดับ Fib 50.0% เป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง เนื่องจากราคาลงมาทดสอบถึง 3 รอบ แต่ไม่สามารถผ่านไปได้ และจากภาพตัวอย่างยังเห็นได้ว่าราคาวิ่งสูงขึ้นผ่านสวิงไฮด้วย ทีนี้เราก็มาหาเป้าหมายในการปิดทำกำไรบางส่วนด้วยการใช้ Fibonacci extension

การหาเป้าหมายราคาด้วย Fibonacci extension

และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ราคาลงมาพักตัวทำให้เกิดสวิงโลว์

ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นไปตลอดทางจนถึงระดับ 61.8% ซึ่งอยู่ใกล้กับสวิงไฮที่ผ่านมา
ราคากลับมาทดสอบที่ระดับ 38.2% ซึ่งเป็นแนวรับ
หลังจากนั้นราคาปรับตัวสูงขึ้นจนไปถึงระดับ 100%
สองสามวันต่อมาราคาปรับตัวสูงขึ้นอีกจนไปถึงแนวต้านที่ระดับ 161.8%

จากตัวอย่างเห็นได้ว่า ที่ระดับ 61.8% ,100% และ 161.8% ต่างก็เป็นระดับที่ดีสำหรับการปิดทำกำไรบางส่วน

ตอนนี้ลองมาดูตัวอย่างการใช้ Fibonacci extension ในเทรนขาลงกันบ้าง ในแนวโน้มขาลง เราก็มักจะทำกำไรจากการเซล ทีนี้ลองมดูตัวอย่างของกราฟ EUR/USD ในกรอบราคา 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกราฟเดียวกันกับตัวอย่างในบทความก่อนหน้า เรื่อง "Fib Stick"

การหาเป้าหมายราคาด้วย Fibonacci extension

จากภาพตัวอย่างเราเห็น Doji อยู่ใต้ระดับ Fib 61.8% ราคากลับตัวจากการที่มีคนเทขาย ทำให้ราคาวิ่งลงมาถึงระดับสวิงโล ทีนี้ลองเอา Fibonacci extension ใส่ลงไปเพื่อดูว่าเราจะปิดทำกำไรบางส่วนตรงไหนดี ถ้าเราได้เปิดเซลมาจากระดับ 61.8% ของ Fibonacci Retracement


และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ราคากลับตัวจากระดับของ Fibonacci retracement
ราคาวิ่งจนถึงแนวรับที่ระดับ 38.2%
ราคาวิ่งไปทดสอบที่ระดับ 50.0% ซึ่งเป็นระดับแนวรับที่ค่อนข้างจะแข็งแกร่ง และราคามีการเด้งขึ้นมาเล็กน้อย เป็นโซนที่น่าสนใจ

ที่ระดับ 61.8% ก็เป็นโซนที่น่าสนใจเช่นกัน แต่ในที่สุดราคาก็ร่วงผ่านไปเพื่อไปทดสอบระดับสวิงโลว์ก่อนหน้า
คุณจะเห็นได้ว่า ที่ระดับสวิงโลว์ก่อนหน้าคือระดับ 100% ของ Fibonacci extension ซึ่งหน้าที่เป็นแนวรับ


จากตัวอย่าง เราสามรถเลือกปิดทำกำไรบางส่วนได้ที่ระดับ 38.2% , 50.0% ,61.8% และทุกระดับนั้นทำหน้าที่เป็นแนวรับ และเทรดเดอร์อื่นๆก็อาจจะทำเช่นเดียวกันนี้เหมือนกัน
จากตัวอย่างแสดงให้เราเห็นว่า ราคาจะวิ่งไปที่บางแนวรับ-แนวต้านชั่วคราวของ Fibonacci extension แต่ก็ไม่เสมอไป แต่ก็บ่อยมากพอที่จะช่วยให้คุณปรับตำแหน่งการทำกำไรและการบริหารความเสี่ยงของคุณได้

บางอย่างที่คุณควรต้องระมัดระวังก็คือ

สิ่งแรกคือ เราไม่มีทางรู้ได้อย่างแน่นอนว่า ระดับไหนของ Fibonacci extension ที่จะสามารถต้านทานราคาได้ อีกปัญหาก็คือ การกำหนดจุดสวิงที่เริ่มต้นในการลาก Fibonacci extension
วิธีหนึ่งก็คือการลากจากสวิงล่าสุด อย่างในภาพตัวอย่าง และอีกวิธีหนึ่งก็คือ ลากจากสวิงต่ำสุดหรือสูงสุดของแท่งเทียนที่ผ่านล่าสุด 30 แท่ง ที่สำคัญก็คือมันไม่มีวิธีที่ถูกต้องจริงๆในการลาก เราต้องฝึกฝนและเมื่อทำบ่อยๆ เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นในเรื่องของการเลือกจุดสวิง คุณจะต้องใช้ดุลยพินิจของคุณเองในหารใช้ Fibonacci extension คุณต้องตัดสินใจว่า อีกนานแค่ไหนที่ราคาจะอยู่ในเทรนต่อไป


การหาจุดตัดขาดทุนด้วย Fibonacci

อีกอย่างที่สำคัญในการเทรดไม่น้อยไปกว่าการเข้าออเดอร์ หรือการปิดทำกำไรก็คือ ควรรู้ว่าจะตัดการขาดทุน (SL) ที่ตรงไหน คุณไม่สามารถเทรดโดยใช้ Fibonacci โดยไม่คำนึงถึงจุดตัดขาดทุนได้ ก็เหมือนกับการเทรดด้วยเครื่องมืออื่นๆเช่นกัน และวิธีการตั้ง SL ในการเทรดโดยใช้ Fibonacci นั้น ไม่ยุ่งยากเลย โดยเราจะยึดระดับ Fibonacci ที่มีนัยยะเป็นหลัก

วิธีแรกคือ การตั้ง SL ไว้เลยระดับของ Fib ต่อไป เช่น หากคุณวางแผนที่จะเปิดออเดอร์ที่ระดับ 38.2% คุณก็ควรตั้ง SL ให้เลยระดับ 50.0% ไปเล็กน้อย ถ้าคุณคิดว่าระดับ 50.0% จะสามารถต้านราคาอยู่ ดังนั้นคุณก็ควรตั้ง SL ไว้เลย 61.8% ไปเล็กน้อย อย่างนี้เป็นต้น ง่ายมั้ยคะ 


หากคุณทำการเซลที่ระดับ 50.0% คุณอาจจะวาง SL ไว้เลยระดับ 61.8% ไปเล็กน้อย ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณคิดว่า ระดับ 50.0% นี้น่าจะต้านราคาไหวและเป็นจุดกลับตัวของราคาได้ ดังนั้นถ้าราคาปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าจุดที่คุณตั้ง SL ไว้ก็แสดงว่าความคิดของคุณนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาของการตั้ง SL อย่างนี้ขึ้นอยู่กับการเปิดออเดอร์ที่เหมาะสมของคุณ

การตั้ง SL ไว้แค่ในระดับต่อไปของ Fibonacci retracement  สมมุติว่าคุณมั่นใจว่าแนวรับ-แนวต้านนั้นจะต้านทานราคาได้ และราคาอาจจะวิ่งขึ้นไปชน SL ของคุณก่อนแล้ววิ่งกลับมาในทิศทางเดิมที่คุณเปิดออเดอร์ไว้ ทำให้คุณหงุดหงิด โมโห ทะเลาะกับกราฟ เราเชื่อว่าหลายคนเคยมีประสบการณ์แบบนี้ เพราะว่ามันไม่มีอะไรแน่นอน เราจึงอยากเตือนว่าในบางครั้งเรื่องแบบนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ควรจะมีการจำกัดความเสี่ยง และตัดความสูญเสียของคุณให้รวดเร็ว และปล่อยให้ออเดอร์ทำกำไรเวลาอยู่ในแนวโน้มที่ถูกต้อง (Let profit run)  

และการตั้ง SL แบบนี้น่าจะเหมาะสมกับการเทรดในระยะสั้นๆ หรือการซื้อขายระหว่างวัน และถ้าคุณอยากจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น วิธีการตั้ง SL อีกวิธีกนึ่งก็คือการตั้งเลยสวิงไฮหรือสวิงโลว์ในอดีตที่เพิ่งผ่านมา
การตั้ง SL แบบนี้จะทำให้ระยะมีระยะให้คุณหายใจหายคอได้มากขึ้น และทำให้มีโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้นด้วย


และถ้าราคาวิ่งเลยสวิงไฮหรือสวิงโล ก็จะบอกราคากำลังจะเปลี่ยนเทรน ก็หมายความว่าความคิดในการเทรดของคุณที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้อง และสายเกินไปแล้วที่คุณจะเปิดออเดอร์ตามในตอนนี้ และการตั้ง SL ในระยะห่างๆแบบนี้ อาจจะดีที่สุดสำหรับการเทรดแบบ Swing Trade แต่คุณก็ยังสามารถนำวิธีนี้ไปปรับใช้ในการ Scalping ได้ด้วย และที่สำคัญในการตั้ง SL ในระยะไกลๆแบบนี้คุณต้องไม่ลืมที่จะรับขนาดการซื้อขายให้เหมาะสมด้วย

จำไว้ว่า การตั้ง SL ไม่ได้มีกฎตายตัว แต่ถ้าคุณสามารถประยุกร์ใช้กับเครื่องมืออื่นๆที่คุณถนัด ก็อาจจะช่วยให้คุณหาจุด SL ที่ดีขึ้น มีพื้นที่ให้คุณหายใจได้มากขึ้น และทำให้คุณมีโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้นด้วย



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ