ประเภทของ Forex Broker


 
ประเภทของ Forex Broker
บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินเทรดเดอร์พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโบรคเกอร์ ที่จะมาพร้อมกับข้อข้องใจมากมายว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโบรคเกอร์กันก่อนว่ามีกี่ประเภท แล้วเค้าทำงานกันยังไง เพื่อเลือกดูว่าแบบไหนที่โดนใจเรามากที่สุด

ประเภทของโบรคเกอร์
ขั้นตอนแรกของการเลือกโบรคเกอร์คือ หาสิ่งที่คุณต้องการ และสำหรับโบรคเกอร์ ก็จะมีอยู่ 2  ประเภทหลัก คือ
-  Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกว่า Market Makers
-  No Dealing Desks (NDD) สามารถแยกย่อยได้อีก คือ
   -  Straight Through Processing (STP) คือ การประมวลผลโดยตรง
   -  Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ  ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง


ประเภทของโบรคเกอร์


Dealing Desks (DD) หรือ Market Makers คืออะไร ?
Dealing Desks คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (DD) โบรกเกอร์จจะสร้างรายได้ผ่านค่าสเปรด และการซื้อขายกับลูกค้าของพวกเขา และที่ได้ชื่อว่า Market Makers ก็เพราะว่าโบรคเกอร์ประเภทนี้จะสร้างราคาอัตราแลกเปลี่ยนเทียมขึ้นมาสำหรับลูกค้าของเขา ตอนนี้คุณแจจะกำลังคิดว่ามันเป็นอะไรที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของคุณ แต่อันที่จริงแล้วไม่เลย เพราะ Market Makers จะทั้งซื้อและขายในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขาไม่ได้แยแสกับการตัดสินใจซื้อขายของลูกค้าเลย
และเมื่อ Market Makers เป็นผู้ควบคุมราคาเอง ทำให้มีความเสี่ยงที่น้อยมากในการตั้ง Fixed Spread (ค่าสเปรดคงที่) และลูกค้าของโบรคจะไม่เห็นราคาที่แท้จริงจากตลาดระหว่างธนาคาร แต่ไม่ต้องกลัวเมื่อเห็นว่าโบรคเกอร์ที่เป็น DD มีราคาปิดไม่ตรงกันกับตลาดระหว่างธนาคาร (ตลาดกลาง) การซื้อขายโดยใช้เคาน์เตอร์จัดการ (DD) มีการดำเนินงานดังนี้

ประเภทของโบรคเกอร์

สมมติว่าคุณเปิดคำสั่งซื้อสำหรับ EUR / USD 100,000 หน่วย กับโบรกเกอร์ที่เป็น DD และเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ ขั้นแรกโบรคเกอร์จะพยายามหาคำสั่งขายของลูกค้าอื่นๆเพื่อมาจับคู่กับออเดอร์ซื้อของคุณ หรือไม่ก็จะส่งออเดอร์ของคุณไปให้ฝ่ายบริหารจัดการสภาพคล่องของบริษัท ซึ่งก็คือนิติบุคคลขนาดใหญ่ที่พร้อมจะซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินอยู่แล้ว ซึ่งการทำแบบนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงของพวกเขาได้ เพราะโบรคเกอร์จะได้เงินจากค่าสเปรดโดยไม่ต้องรับถือออเดอร์ที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับออเดอร์ของคุณ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถจับคู่คำสั่งให้กับลูกค้าได้ พวกเขาก็จะต้องถืออเดอร์ฝั่งตรงข้ามให้กับลูกค้าเอง และคุณควรจะรู้ไว้ด้วยว่า บรรดาโบรคเกอร์ทั้งหลาย ต่างก็มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรที่จะตรวจสอบโบรกเกอร์ของคุณด้วยว่า นโยบายบริหารความเสี่ยงของพวกเขาเป็นเช่นไร

No Dealing Desk Broker คืออะไร?

ตามชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า No Dealing Desk (NDD) นั่นก็คือ โบรคเกอร์ที่ไม่ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าผ่านเคาน์เตอร์จัดการ ซึ่งหมายความว่าโบรคเกอร์ไม่ได้หาผลประโยชน์จากด้านอื่นในการเทรดของลูกค้าเลย ที่โบรคเกอร์ทำก็เพียงแค่เชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันเท่านั้น

ประเภทของโบรคเกอร์


NDDs เป็นเหมือนผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองที่ NDDs สามารถเรียกเก็บค่านายหน้าที่มีขนาดเล็กมากสำหรับการซื้อขาย หรือโดยแค่ค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย NDD โบรคเกอร์ ยังสามารถเป็นได้ทั้ง STP หรือ STP+ECN


โบรกเกอร์ STP คืออะไร ?
STP ตือ โบรคเกอร์ที่มีระบบการประมวลผลโดยตรง โบรกเกอร์บางแห่งอ้างว่าพวกเขาเป็นโบรกเกอร์ ECN แต่อันที่จริงแล้ว พวกเขาเพียงแต่มีระบบการประมวลผลโดยตรง โบรกเกอร์ที่มีระบบ STP จะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าตรงไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่องของพวกเขาซึ่งเข้าถึงตลาดระหว่างธนาคารได้โดยตรง
โบรกเกอร์ NDD STP มักจะมีผู้ให้บริการสภาพคล่องจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริการสภาพคล่องแต่ละที่ก็จะมีการเสนอราคาและขอราคา (Bid- Ask) ของตัวเอง สมมุติว่า โบรกเกอร์ NDD STP ของคุณมีผู้ให้บริการสภาพคล่อง 3 แห่ง ในระบบของโบรคเกอร์ พวกเขาก็จะเห็นการเสนอราคาและขอราคา ของสามแห่งที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเหมือนรูปด้านล่างนี้

ประเภทของโบรคเกอร์

ในระบบของพวกเขาก็จะเห็นการเสอราคาและขอราคาที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด จากตารางตัวอย่าง ราคาที่ดีที่สุดของการเสนอราคา (Bid) คือ  1.3000 (คุณต้องการขายสูง) และราคาที่ดีที่สุดของการขอราคา (Ask) คือ 1.3001 (คุณต้องการซื้อต่ำ) ดังนั้นราคา Bid/ Ask ตอนนี้คือ 1.3000/1.3001
แต่ว่าคุณจะไม่เห็นราคานี้ เพราะว่าโบรคเกอร์ไม่ได้ทำงานด้านการกุศล ดังนั้นโบรคเกอร์ก็จะคิดค่าบริการต่างๆเหล่านี้ โดยการเพิ่มขนาดราคามาร์คอัพขึ้นอีกนิดหน่อย ซึ่งปรกติการเพิ่มขนาดนี้จะคงที่ ถ้านโยบายของพวกเขาคือการเพิ่มมาร์อัพเข้าไปอีก 1 จุด ดังนั้นราคาที่คุณจะเห็นที่เพลทฟอร์ม(MT4) ของคุณก็จะเป็น 1.2999/1.3002  ดังนั้น คุณจะเห็น ค่า Spread เป็น 3 จุด ซึ่งเพิ่มมาจาก Spread จริงๆที่มีเพียง 1 จุด
และเมื่อคุณตัดสินใจที่จะซื้อ EUR / USD 100,000 หน่วย ที่ราคา 1.3002  ใบสั่งซื้อของคุณจะถูกส่งผ่านโบรกเกอร์ไปยังผู้ให้สภาพคล่องแห่งใดแห่งหนึ่งที่โบรคเกอร์มีอยู่ และถ้าคำสั่งซื้อของคุณได้รับการยอมรับจากผู้ให้สภาพคล่องแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ผู้ให้สภาพคล่องแห่งนั้นก็จะขาย EUR / USD 100,000 หน่วยในราคา 1.3001 และคุณจะได้ซื้อ EUR / USD 100,000 หน่วยในราคา 1.3002 โบรกเกอร์ของคุณจะได้รับส่วนต่าง 1 จุดเป็นรายได้
และการที่มีการเปลี่ยนราคาเสนอซื้อขาย (Bid/ Ask) ก็คือเหตุผลว่าทำไม โบรคเกอร์ STP ส่วนใหญ่มีค่าเสรปดที่ผันแปลตลอดเวลา ถ้าสเปรดของผู้ให้บริการสภาพคล่องของพวกเขาเพิ่มขึ้น โบรคเกอร์ก็ต้องขยายสเปรดขึ้นตามไปด้วยอย่างไม่มีทางเลือก แต่ก็มีบางโบรคเกอรื STP ที่เสนอค่าสเปรดคงที่ให้ลูกค้า แต่ส่วนมากจะมีสเปรดที่ผันแปรมากกว่า

โบรกเกอร์ ECN คืออะไร ?
ECN ก็คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน ดังนั้นโบรกเกอร์ ECN ก็คือ โบรคเกอร์ที่จับคู่คำสั่งของลูกค้าในเครือข่าย ECN ของตนเอง ซึ่งลูกค้าในเครือข่ายนี้อาจจะเป็นธนาคาร เทรดเดอร์รายย่อย หรือกองทุนป้องกันความเสี่ยง หรือแม้แต่โบรคเกอร์อื่นๆ โดยสิ่งที่สำคัญก็คือ การที่ผู้เข้าร่วมในระบบแต่ละคน ต่างก็จะแข่งกันเสนอราคาซื้อขาย และ ECNs ยังช่วยให้ลูกค้าของพวกเขาเห็น "ความเป็นไปของตลาดจริงๆ" ซึ่งจะแสดงคำสั่งซื้อและขายของนักลงทุนในตลาดอื่นๆด้วย เพราะธรรมชาติของ ECN จึงเป็นการยากที่จะเพิ่มค่าสเปรด ดังนั้น โบรคเกอร์ ECN มักจะได้ค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยจาก "ค่าคอมมิสชั่น" ที่เรียกเก็บจากเราเท่านั้นเอง




ขอบคุณข้อมูลจาก
แปลและเรียบเรียงโดย PipsHunter THFX

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ