กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2013

บทความ

Fail Fibonacci เราคงรู้จักการ Breakout ที่เกิดกับแนวรับแนวต้านกันดีอยู่แล้ว และเช่นเดียวกันในการใช้ Fibonacci ก็สามารถเกิด Breakout ได้เหมือนกัน ในภาพคือ กราฟ GBP/USD ใน TF 4 ชั่วโมง ซึ่งราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และราคามีการดีดตัวกลับขึ้นมา เราจึงใช้ Fibonacci มาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการหาจุดเข้าเปิดออเดอร์ใหม่ว่าจุดไหนจะเป็นจุดที่ดีที่สุด เราลาก Fibonacci  จากสวิงไฮที่ 1.5383 ถึงสวิงโลว์ที่ระดับ 1.4799 สังเกตได้ว่าราคาวิ่งหยุด และไต่อยู่ที่ระดับ 50.0% ขอ Fibonacci  และนี่ก็คือ ระดับที่เราน่าจะถือโอกาสเปิดออเดอร์เซล แต่ถ้าคุณไม่ได้เปิดออเดอร์ในจังหวะนี้ คุณก็อาจจะตกรถได้ แต่เดียวก่อน นอกจากนั้นคุณก็ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดการกับความเสี่ยงด้วย เพราะบัญชีของคุณอาจจะเจอกับสภาวะการที่เลวร้ายได้หากว่าคุณไม่ได้มีการจัดการกับความเสี่ยง ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ การกลับตัวในสวิงโลว์จุดต่ำสุดของแนวโน้มขาลง และตลาดเริ่มที่จะดีดตัวกลับไปหาสวิงไฮ และจากกรณีแบบนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ? ในขณะที่ Fibonacci Level ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเทรดได้มากขึ้น แต่ก็เช่นเดียวกับเครื่องมือ
BoE - Bank of England (ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ) ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Governor and Company of the Bank of England) เป็นธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร  เป็นธนาคารกลางที่มีรูปแบบที่ทันสมัยที่สุด ได้ถูกตั้งเป็นสถาบันของรัฐตั้งแต่ปี 1946 ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1694 เพื่อทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของรัฐบาลอังกฤษ และจนถึงวันนี้ก็ได้ทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของรัฐบาลสหราชอาณาจักร (UK) ธนาคารได้ผูกขาดในเรื่องของธนบัตรในอังกฤษและเวลส์ แต่ไม่ผูกขาดในสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องเงิน (หรืออาจเรียกว่าเป็นอิสระ) ในการจัดการนโยบายการเงินของประเทศ กระทรวงการคลังมีอำนาจสำรองที่จะออกคำสั่งต่อคณะกรรมการ  "ถ้าพวกเขาอยู่ในความสนใจของประชาชนและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรง"  แต่คำสั่งดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภาภายใน 28 วัน สำนักงานใหญ่ของธนาคารตั้งอยู่ในย่านธุรกิจการเงินหลักของกรุงลอนดอน ในเมืองลอนดอน บนถนนเทรดนีเดิล ตั้งแต่ 1734 หรือในบางครั้งเรียกกันว่าหญิงชราแห่งถนนเทรดนีเดิล หรือ แค่เรียกว่าหญิงชรา  ผู้ว่าก
"FED"  Federal  Reserve  (ธนาคารกลางสหรัฐฯ) ระบบของธนาคารกลางสหรัฐฯ (ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด) เป็นระบบการธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นใน 1913 โดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติกฎหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกึ่งสาธารณะ (นิติบุคคลของรัฐบาลกับองค์ประกอบจากเอกชน) ระบบธนาคาร [1] ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการกลางของระบบในกรุงวอชิงตันดีซี (2) คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า FOMC (3) เจ้าของธนาคารกลางแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ (เฟดทั้ง 12 สาขา)  ทำหน้าที่เป็นตัวแทนทางงบประมาณสำหรับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แต่ละที่มีคณะกรรมการบริหารที่เป็นตัวแทนของตัวเอง 9 คน (4) ธนาคารพาณิชย์อื่นๆของสหรัฐฯ อีกมากมายที่ได้สมัครเป็นสมาชิก จะต้องมีจำนวนหุ้นที่ไม่สามารถโอนได้ในภูมิภาคของธนคารกลางสหรัฐฯในเขตที่พวกเขาอยู่ และ (5) คณะกรรมการที่ปรึกษาต่างๆ เช่นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2006 เบน เบอร์นันเก้ที่ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกลางของระบบ โดนัลด์ โคห์น เป็นรองประธานกรรมการบริหารในปัจจุบัน หน้าที่ใน
บทความนี้เป็นบทความที่ผมบอกว่าแยกออกมาจากบทความของวันที่ 16 กรกฏาคม 2556 ที่ชื่อ  “ ทดสอบย้อนหลังได้กำไรแล้วควรย้ายไปเทรดเงินจริงดีไหม”  ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการเทรดของ จขกท ซึ่งเค้าใช้ Price Action เทรดสำหรับคนที่กำลังเรียนรู้เรื่อง Price Action สามารถเอาวิธีของเค้าไปลองเทรดดูก่อนได้ครับ ความเดิมจากบทความที่แล้วหลังจากที่คุณ aarizahmad เจ้าของกระทู้ถามเรื่องที่เขาทำ Backtest แล้วได้ผลและกำลังตัดสินใจจะย้ายไปเทรดบัญชีจริง ทีนี้ก็มี user คนหนึ่งที่ชื่อ Togu ให้ความสนใจกับวิธีเทรดของเจ้าของกระทู้คุณ Togu สนใจระบบของ จขกท. เป็นอย่างมากเขาถามว่าช่วยอธิบายวิธีการดูแท่งเทียนและวิธีการเทรดของคุณหน่อยได้ไหมผมเห็นว่าคุณใช้ความเสี่ยง 1:3 และทำกำไรได้ถึง 60% เลยทีเดียวซึ่งมันน่าสนใจมาก ๆ จขกท. เลยเข้ามาตอบว่า เข้าใช้รูปแบบ Engulfing, Morning และ Evening Star ในการหาสัญญาณเข้าและมีกฎในการดูดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1: Engulfing ของผมผมจะพิจารณาก็ต่อเมื่อ Body ของแท่งที่ 2 สามารถกลืนกิน Body ของแท่งก่อนหน้าได้ ผมไม่สนใจเรื่องของไส้เทียน เทียบแค่ Body กับ Body ก็พอ ข้อที่ 2: หากเป็นแท่งเทีย
Mark Minervini หนึ่งใน Market Wizard กล่าวไว้ว่า ตัวเค้าเองไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและไม่ชอบการเทรดจำลอง (หรือ Paper Trade) แม้ว่าการเทรดจำลองเพื่อการฝึกฝนก่อนการใช้เงินจริงอาจจะฟังดูสมเหตุสมผลก็ตาม โดย  Minervini ยกตัวอย่าง การฝึกฝนเพื่อเป็นนักมวยมืออาชีพด้วยการชกลมอย่างเดียว กล่าวคือ  ‘ คุณไม่ทางรู้ว่าคุณจะโดนหมัดแบบไหนบ้าง หากคุณไม่ลองขึ้นชกบนเวทีพร้อมกับคู่ต่อสู้จริงๆ’ การเทรด  demo  ก็เปรียบเสมือนการเป็นนักมวยที่ ‘ ชกแต่ลม’  หากคุณไม่ขึ้นสังเวียน ไม่เข้าไปเทรดด้วยเงินจริงในตลาด คุณก็จะไม่รู้สึกถึงหมัดจริง ไม่รู้สึกถึงความกดดันจากเงินจริงๆของคุณเองในตลาด แม้ว่าการเทรดจำลองอาจจะช่วยให้คุณเรียนรู้การเทรดของตัวเองได้บ้าง แต่มันอาจก่อให้เกิดความเชื่อหรือสัญชาติญาณการลงทุนแบบผิดๆ การตัดสินใจแบบผิดๆพราะเมื่อเป็นการเทรดจำลอง คุณย่อมตัดสินใจได้ง่ายดายกว่าเงินจริงอย่างแน่นอน และไม่มีหลักประกันอะไรมารองรับว่า คุณจะตัดสินใจในการเทรดจริงเหมือนกับที่คุณตัดสินใจในการเทรดจำลอง ส่วนตัวแล้วผมก็ไม่เห็นด้วยกับการเทรด demo เพื่อทดลองระบบเช่นกัน หากเปรียบการเทรดเป็นเหมือนขั้นตอนการทดลองทาง
G20 G20 ถูกก่อตั้งขึ้นนอกเหนือจาก G7 เมื่อ 25 กันยายน 1999 ในกรุงวอชิงตันในประชุมของรัฐมนตรีคลังของกลุ่มหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากวิกฤตทางการเงินในปี 1990 วัตถุประสงค์ของกลุ่มใหม่นี้ก็เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางการเงินระหว่างประเทศและสร้างโอกาสให้กับการเจรจาระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศเกิดใหม่ เช่น ประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาตในการประชุมของรัฐมนตรีคลังจากกลุ่มประเทศ G8 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเจรจาระหว่างประเทศ ผสมผสานหลักการของการเจรจาโดยคำนึงถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจในวงกว้างจากตัวเลขการเติบโตของประเทศ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตทั่วโลก G20 จึงยังเป็นที่ประชุมเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณ การเจริญเติบโตทางการเงิน การค้า และ พลังงาน การพัฒนาของกลุ่มนี้ คิดเป็น 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ทั่วโลก 80% ได้จากการค้าระหว่างประเทศ (รวมถึงการค้าภายใน EU) และสองในสามของประชากรโลกให้น้ำหนักทางการเมืองและความถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญ  20 ประเทศสมาชิกของ G-20 ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของ 19 ประเทศ ในปี 2009  อาเจนตินา: ประธานาธิบดี คริ
IMF - International Monetary Fund กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF  เป็นสถาบันการเงินก่อตั้งขึ้นในปี 1945 ที่การประชุม เบรตตัน วู๊ด เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในโลก และ เพื่อเสถียรภาพของระบบการเงินทั่วโลก ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี มีการดูแลควบคุมโดย 185 ประเทศสมาชิก ครอบคลุมแทบทุกประเทศในโลก เบื้องหน้าที่ทุกคนรับผิดชอบ มีบทบาทในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจทั่วโลก โดยนำเสนอความรู้ เช่น ความเชี่ยวชาญในโลกการเงิน ให้แก่ประเทศต่างๆ กองทุนการเงินระหว่างประเทศพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินโลก หน้าที่และภารกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีการระบุไว้ดังต่อไปนี้ ในการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกในการขยายตัวและการเจริญเติบโตที่สมดุลของการค้าโลก ส่งเสริมเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ช่วยในการสร้างระบบพหุภาคีในการชำระเงิน – ใส่ในแหล่งข้อมูล (ขึ้นอยู่กับการป้องกันที่เหมาะสม) ให้ความสะดวกต่อประเทศที่กำลังเผชิญความยากลำบากในความสมดุลของการชำระเงินของพวกเขา ตัวเลขที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จำนวนสมาช
ทั้ง O’Neil และ Livermore ต่างก็มองว่าการเล่นหุ้นนั้น ก็เหมือนกับการทำธุรกิจ (ธุรกิจเก็งกำไร)คุณต้องบริหารกิจการของคุณให้อยู่รอดและสร้างผลกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ นั่นทำให้คุณต้องรู้จักการบริหารเงินทุน(หน้าตัก), บริหารพอร์ตลงทุน, บริหารความเสี่ยง ซึ่งก็ไม่ต่างจากการทำธุรกิจเท่าไหร่เลย และเป็นที่แน่นอนว่า ถ้าคุณไม่จริงจังหรือไม่ได้ใส่ใจธุรกิจของคุณ ก็คงยากที่คุณจะประสบความสำเร็จจากธุรกิจนั้นๆ นี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่า การเล่นหุ้นก็เล่นง่ายๆ แค่สั่งซื้อหุ้น พอขึ้นก็ขาย ลงก็ซื้อ หรือมักคิดว่า กำไรจากหุ้นนั้นหามาได้โดยง่าย ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก เพราะคนที่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น ‘ทุกคน ทุกแนว’ ต่างก็ต้องใช้ความพยายาม ความขยัน และอดทน กว่าที่จะพบเจอความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ครับ ในส่วนของการบริหารพอร์ต ผมอ่านจากหนังสือ  ‘How to Make Money in Stocks’  ของ O’Neil เป็นหัวข้อที่เนื้อหาสั้นๆแต่อ่านแล้วรู้สึกชอบ เพราะเค้าเปรียบเทียบการบริหารพอร์ตกับการบริหารสต็อคสินค้าของธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ ลองอ่านดูครับ ถ้าแ